วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การคัดแยกขยะมูลฝอย


วิธีการคัดแยกขยะมูลฝอย



การคัดแยกขยะมูลฝอย

                              เพื่อให้สะดวกแก่การนำไปกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่โดย
ทั่วไปแยกเป็น 4 ประเภทคือ

1. ขยะเศษอาหาร หรือขยะที่เน่าเสียได้ เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย มีความชื้นมาก ส่งกลิ่นเหม็นได้อย่าง รวดเร็ว ขยะประเภทนี้กำจัดและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการหมักทำปุ๋ย ใช้ในการเกษตรได้ ตัวอย่างขยะเศษอาหาร เช่น เศษผักผลไม้ เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ เศษอาหาร เศษไม้ เศษใบไม้ ฯลฯ 
2. ขยะพิษ/อันตราย  ถือเป็นขยะอันตรายที่จำเป็นต้องแยกทิ้งต่างหาก เนื่องจากสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น ติดไฟง่าย ระเบิดได้ มีสารกัดกร่อน ขยะพิษ ได้แก่ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง น้ำมันเครื่อง ภาชนะน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ฯลฯ 
3. ขยะทั่วไป   เป็นขยะที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และไม่สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ขยะทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ทำให้ต้องทิ้งเพื่อให้รถมาเก็บขนไปทำลายหรือกำจัดต่อไป เช่น เศษกระจกแตก เปลือกลูกอม ซองขนม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ 
4. ขยะรีไซเคิล หรือขยะยังใช้ได้ ขยะประเภทนี้บางส่วนสามารถแยกนำมาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นการประหยัดพลังงานและทรัพยากร ได้แก่ แก้ว พลาสติก กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก เศษผ้า ฯลฯ

ที่มา http://www.lpn.co.th/th/press/viewitem.aspx?nid=12

เติมสีสันเพื่อสุขภาพ


ผักผลไม้ 5 สี
ในผักผลไม้มีไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ที่มีประโยชน์ และเป็นแหล่งที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระ การที่จะได้รับประโยชน์จากไฟโตนิวเทรียนท์ให้มากที่สุดควรเลือกกินผักผลไม้ที่มีสีสันแตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ
ผักผลไม้สีม่วง/น้ำเงิน
ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
ผักผลไม้สีขาว
กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ลดความดันโลหิตต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ผักผลไม้สีแดง
ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและความจำเสื่อม
ผักผลไม้สีส้ม/เหลือง
ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการบำรุงสายตา
ผักผลไม้สีเขียว
 ต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์ให้ทำงานตามปกติ
 ที่มา : http://www.greenintrend.com/

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

สับปะรดมีประโยชน์



สับปะรดดีต่อสุภาพสตรีและผู้ป่วย

          สับปะรดนอกจากจะหวานอร่อยแล้ว สับปะรดยังดีต่อสุขภาพ ประโยชน์ของสับปะรดดีต่อสุขภาพ สตรีและผู้ป่วยอีกด้วย

          สำหรับสุภาพสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน อาการอักเสบจากริดสีดวงทวาร หรือผู้ป่วยอาการที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ หากรับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆเหล่านี้ได้ รวมไปถึงสมานแผลให้ทุเลาได้เร็วขึ้นด้วย

วิธีรับประทานสับปะรดให้ถูกต้อง
   
          สำหรับการรับประทานที่ถูกวิธีนะ ให้ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงเป็นแถว ๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้วยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และเอ็มไซม์บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทานคะ

  ข้อแนะนำของสับปะรด
          ถึงแม้ว่าสับปะรด จะเป็นผลไม้ที่เยี่ยมยอดเลยก็ว่าได้สำหรับเรา แต่หากรับประทานในปริมาณมากๆ อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ ควรรับประทานสับปะรด ควบคู่ไปกับการทานอาหาร และผักผลไม้อื่นๆด้วย อย่าลืมบอกต่อเคล็ดลับดีๆให้เพื่อนๆต่อได้นะ




 


วิถีชีวิตพอเพียง


สภาวะโลกร้อน

"ภาวะโลกร้อน"


ภาวะโลกร้อน


* ปัจจุบันโลกเราเกิดปัญหาจากธรรมชาติมายมายอาทิเช่น แผนดินไหว สึนามิ น้ำท่วม ดินถล่ม พายุถล่มและอีกปัญหาที่สำคัญคือภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมานานส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นอย่างมาก
ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน



Cr.http://tech.mthai.com/tips-technic/40583.html
 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน
      ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจกก๊าาซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)  ก๊าซมีเทน ( CH4)   ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O)  ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS)  ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
 ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
     แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีปนอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง


Cr.http://globalwarming606.blogspot.com/p/blog-page_08.html
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
               รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
3. ผลกระทบด้านสุขภาพ 
 * ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
 จะป้องกันได้อย่างไร   ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้
1.  ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลง เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้ งาน
2. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
3. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์  ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป
4. ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ 


Cr.http://www.bcn.ac.th/web/2007/S_Product/rokron2.htm



Cr.http://www.thairath.co.th/content/295979

วิดิโอ ภาวะโลกร้อน



Cr.https://www.youtube.com/watch?v=FXjt2aQg8g0

ประโยน์เห็ดนางรม

เห็ดนางรม
                        เป็นเห็ดที่มีสีขาวสะอาด มีคุณค่าทางอาหารสูง รสชาติหอมหวาน มีสารที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ไม่แพ้เห็ดชานิดอื่น ๆ  มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะ โปรตีน คาร์โบร์ไฮเดรต วิตามิน ให้พลังงานค่อนข้างสูง 




เห็ดนางรมมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางประเทศแถบยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในไม้โอ๊ค ไม้เมเปิ้ล และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีสีขาวสะอาด มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีรสชาติหอมหวาน มีสารที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไม่แพ้เห็ดชนิดอื่น ๆ มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีน คาร์โบร์ไฮเดรต วิตามิน ให้พลังงานค่อนข้างสูง มีกรดโฟลิคสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ ซึ่งป้องกันโรคโลหิตจาง ได้ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และเหมาะต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเพราะเห็ดมีปริมาณของไขมันน้อย และมีปริมาณโซเดียมตำ่

กินวิตามินมากๆ ดีจริงหรอ

กินวิตามินมากๆ ดีจริงหรอ

      นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว หลายคนมักเลือกการทานวิตามินเป็นอาหารเสริม ซึ่งการทานวิตามินกำลังกลายเป็นเทรนด์ฮิตทั้งในไทยและต่างประเทศ มีทั้งวิตามินช่วยเสริมเรื่องสุขภาพให้แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันโรคมะเร็ง ไขมัน ความดัน ฯลฯ ไปจนถึงวิตามินประเภทที่ช่วยในเรื่องของความงามต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการทานวิตามินมากเกินไปนอกจากจะเปลืองเงิน และไม่ได้ช่วยให้คุณสุขภาพดีแล้ว ยังสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย
สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษตีแผ่วัฒนธรรมการกินวิตามินพร่ำเพรื่อที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกโดยเปิดเผยผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่พบว่าการกินวิตามินเอเบตาแคโรทีน และวิตามินอี รวมถึงสารแอนติออกซิแดนท์ต่างๆ มากเกินไปในระยะเวลานานๆ นอกจากจะไม่ได้ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงและป้องกันโรคแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา
วิตามินเอที่มากเกินไป หรือเกิน 3,000 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ เคยทำให้คนตายมาแล้ว ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เคยมีนักสำรวจ ขั้วโลกที่เสียชีวิตจากการกินตับสุนัขลากเลื่อนทำให้มีการค้นพบว่าตับสุนัขมีวิตามินเอสูงมาก และการกินตับสุนัข 100 กรัมก็สามารถฆ่าคนได้ หรือถ้าได้รับวิตามินเอมากเกินไปแต่ยังไม่ถึงขั้นเสียชีวิต ก็จะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง ปากแห้ง ผิวแห้ง ผิวลอกเป็นชั้นๆ ได้ และสำหรับนักสูบบุหรี่ วิตามินเอก็ทำให้คุณเป็นมะเร็งปอดได้ง่ายขึ้น ส่วนซิงก์ที่ หนุ่มสาวชอบกินเพื่อแก้อาการผมร่วง หรือช่วยรักษาสิว หากกินมากเกินไปคือตั้งแต่ 100-150 มิลลิกรัม และกินติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง และถ้ากินมากถึง 200 มิลลิกรัมขึ้นไป อาจทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียและเป็นโรคโลหิตจางได้
วิตามินรวมหลายๆ ชนิดแบบเบ็ดเสร็จในเม็ดเดียว ที่มักมาในรูปแบบของวิตามินบำรุงผม บำรุงสมอง หรือบำรุงสายตา ก็อันตรายมากเช่นเดียวกันเพราะนอกจากจะไม่สามารถคำนวณได้ว่ากินวิตามินอะไรเข้าไปเท่าไหร่ และที่กินเข้าไปนั้นมากเกินขนาดหรือไม่ วิตามินหลายชนิดยังขัดขวางการดูดซึมของกันและกัน เช่นแคลเซียมจะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กขัดขวางการดูดซึมทองแดง ทำให้การโด๊ปวิตามินตัวหนึ่ง อาจทำให้คุณขาดวิตามินอีกชนิดได้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่าวิตามินเป็นสิ่งไม่ดีหรือไม่จำเป็น แต่ควรรับประทานเท่าที่จำเป็นหรือเท่าที่แพทย์แนะนำ อาทิ ผู้ที่ควรได้รับวิตามินเสริม คือหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องได้รับโฟลิกและวิตามินดีเพิ่ม คนอายุ 65 ปี และเด็กวัย 6 เดือน ถึง 5 ปี และคนที่ไม่ค่อยได้โดนแดด ควรได้รับวิตามินดี และสุดท้ายเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี ทุกคนควรได้รับวิตามินเอ ซี และดีเสริม โดยเฉพาะเด็กที่ไม่สามารถกินอาหารที่หลากหลายได้
ที่มา : sanook.com

อาหารอาเซียน

                    อาหารประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ

อาหารประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 นี้ ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรวมเป็นหนึ่งโดยเรียกสั้นๆ ว่ากลุ่มอาเซียน เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ อาหารอาเซียน 10 ประเทศ ของแต่ละประเทศว่าในเพื่อนบ้านของเรานั้นมีอาหารอะไรกันบ้าง เรามาเริ่มที่ประเทศไทยของเราก่อนเลยค่ะ

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา

เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม

Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่าง ๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม


ลาว (Loas) : ซุบไก่ (Chicken Soup) 

ซุบไก่ (Chicken Soup) เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง


กัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)

อาม็อก (Amok) มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ทำจากปลา น้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ อาม็อก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของกัมพูชา


มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาซิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิม จะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า 



พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)

หล่าเพ็ด (Lahpet) อาหารประจำชาติของพม่าที่มีลักษณะคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย โดยรับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น



ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)


อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์และเป็นที่นิยมของนัก เดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไป ทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว


สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)


ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตีของอิตาลี


อินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)


กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ


บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : อัมบูยัต (Ambuyat)


อัมบูยัต (Ambuyat) จัดเป็นอาหารประจำชาติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีลักษณะคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก โดยทั่วไปอัมบูยัต คือ อาหารที่รับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่าง วางอยู่โดยรอบ


เรียบเรียงโดย http://รวมสูตรอาหาร.blogspot.com/
ขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

สมาชิกAEC

1. ประเทศบรูไน (Brunei)
ประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศบรูไน
  • ชื่อภาษาไทย : เนการาบรูไนดารุสซาลาม
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Negara Brunei Darussalam
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
  • ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malay)
  • สกุลเงิน : ดอลล่าร์บรูไน (Brunei dollar, BND)
  • พื้นที่ : 2,226 ตารางไมล์ (5,765 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 415,717 คน
  • การปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
  • Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
  • GDP : 21,907 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 50,440 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +673
ประเทศบรูไน
ประเทศบรูไน
2. ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นลำดับสุดท้าย คือลำดับที่ 10 ทั้งๆที่ยื่นความจำนงค์เข้ามาพร้อมกับลาวและพม่า (ลำดับที่ 8 และ 9) แต่เนื่องจากความไม่สงบภายในประเทศ จึงต้องมีการเลื่อนการพิจารณาออกไป จนเมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว กลุ่มอาเซียนจึงรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
ข้อมูลทั่วไปของประเทศกัมพูชา
  • ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรกัมพูชา
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Kingdom of Cambodia
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : พนมเปญ (Phnom Penh)
  • ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
  • สกุลเงิน : เรียลกัมพูชา (Riela, KHR)
  • พื้นที่ : 69,898 ตารางไมล์ (181,035 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 15,205,539 คน
  • การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
  • GDP : 17,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 1,108 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +855
ประเทศกัมพูชา
ประเทศกัมพูชา
3. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนร่วมกับอีก 4 มิตรประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ภายหลังการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศอินโดนีเซีย
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Indonesia
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
  • ภาษาราชการ : ภาษาอินโดนีเซีย (Indonesian)
  • สกุลเงิน : รูเปี๊ยห์ (Rupiah, IDR)
  • พื้นที่ : 735,358 ตารางไมล์ (1,904,569 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 253,603,649 คน
  • การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
  • Time Zone : UTC+7 ถึง +9 (กรุงจาการ์ต้าใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย)
  • GDP : 2.388 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 9,559 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +62
ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซีย
4. ประเทศลาว (Laos, PDR)
ประเทศ สปป.ลาว เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 8 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยเข้าเป็นประเทศอาเซียนพร้อมกับพม่า ลาวนับได้ว่าเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศเดียวที่ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งและสำหรับการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในประเทศและส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน
ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Lao People’s Democratic Republic
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงเวียงจันทน์
  • ภาษาราชการ : ภาษาลาว (Lao)
  • สกุลเงิน : กีบ (Kip, LAK)
  • พื้นที่ : 91,429 ตารางไมล์ (236,800 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 6,695,166 คน
  • การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้บริหารสูงสุด
  • Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
  • GDP : 20,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 3,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +856
ประเทศลาว
ประเทศลาว
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
ประเทศมาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศมาเลเซีย
  • ชื่อภาษาไทย : มาเลเซีย
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Malaysia
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, KL)
  • ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malaysian Malay)
  • สกุลเงิน : ริงกิต (Ringgit, MYR)
  • พื้นที่ : 127,355 ตารางไมล์ (329,847 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 30,000,000 คน
  • การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระราชาธิบดี) เป็นประมุข
  • Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
  • GDP : 555,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 18,509 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +60
ประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย
6. ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (Myanmar)
ประเทศพม่า เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (วันเดียวกับประเทศลาว)
ข้อมูลทั่วไปของประเทศพม่า
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Union of Myanmar
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : เนปยีดอ (Naypyidaw)
  • ภาษาราชการ : ภาษาพม่า (Burmese)
  • สกุลเงิน : จ๊าต (Kyat, MMK)
  • พื้นที่ : 261,227 ตารางไมล์ (676,578 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 51,419,420 คน
  • การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
  • Time Zone : UTC+6:30 (ช้ากว่าประเทศไทยครึ่งชั่วโมง)
  • GDP : 111,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 1,711 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +95
ประเทศพม่า
ประเทศพม่า
7. ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Philippines
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
  • ภาษาราชการ : ภาษาตากาล็อกและอังกฤษ (Filipino/English)
  • สกุลเงิน : เปโซ (Peso, PHP)
  • พื้นที่ : 115,120 ตารางไมล์ (298,170 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 92,337,852 คน
  • การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
  • Time Zone : UTC+8 (ช้ากว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
  • GDP : 456,418 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 4,682 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +63
ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์
8. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสิงคโปร์
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Singapor
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : สิงคโปร์
  • ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง (English/Mandarin
  • สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
  • พื้นที่ : 276 ตารางไมล์ (716 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 5,399,200 คน
  • การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
  • Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
  • GDP : 348,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 64,584 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +65
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์
9. ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย นอกจากจะเป็นสมาชิก 5 ชาติแรกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนแล้ว ยังเป็นเจ้าภาพในการลงนามเพื่อสร้างข้อตกลงในการสร้างกลุ่มอาเซียนขึ้นมาด้วย โดยการลงนามนี้เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่พระราชวังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงเทพคือบ้านเกิดของอาเซียน
ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย
  • ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรไทย
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : The Kingdom of Thailand
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
  • ภาษาราชการ : ภาษาไทย (Thai)
  • สกุลเงิน : บาท (Thai Baht, THB)
  • พื้นที่ : 198,115 ตารางไมล์ (513,115 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 64,785,909 คน
  • การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
  • Time Zone : UTC+7
  • GDP : 673,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 9,874 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +66
ประเทศไทย
ประเทศไทย
10. ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ประเทศเวีดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ข้อมูลทั่วไปของประเทศเวียดนาม
  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Socialist Republic of Vietnam
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Ha Noi)
  • ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
  • สกุลเงิน : ด่ง (Dong, VND)
  • พื้นที่ : 128,565 ตารางไมล์ (331,210 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 89,693,000 คน
  • การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด
  • Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
  • GDP : 358,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 4,001 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +84
ประเทศเวียดนาม
ประเทศเวียดนาม
www.เกร็ดความรู้. net ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ